บทความ

I ความคิด=My ideate

รูปภาพ
 บทบาทและหน้าที่ สองสิ่งนี้แยกกันไม่ได้นะ บทบาทเป็นสถานะของบุคคล หน้าที่เป็นสิ่งที่มาพร้อมกับบทบาทหรือสถานะนั้น เช่น มีบทบาทเป็นลูก ก็มีหน้าที่ของลูกอยุ่ จะไปทำหน้าที่ของพ่อไม่ได้ ตัวอย่างเช่น มีบทบาทเป็นลูก ก็มีหน้าที่ต้องรับฟังการอบรมสั่งสอนของพ่อและแม่ ตัวเองฉลาดแค่ไหนก็ไม่มีหน้าที่ไปอบรมสั่งสอนพ่อแม่ มีบทบาทหรือสถานะเป็นน้อง ก็ต้องทำหน้าที่ของน้อง เช่นเรียกญาติที่เกิดก่อนตนว่าพี่เป็นต้น มีบทบาทเป็นนักเรียน เป็นลูกศิษย์ เป็นครู เป็นพนักงาน เป็นหัวหน้างาน เป็นเจ้าของงาน เป็นผู้นำ เป็นผู้ตาม ต่างก็มีหน้าที่ของตนทั้งนั้น แม้แต่การเป็นนักบวชก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องรู้หน้าที่ของตนด้วย  นั่นย่อมต้องหมายถึงว่า บทบาทเป็นสถานะ หรือเป็นยศ เป็นตำแหน่ง เป็นเกียรติ ส่วนหน้าที่ ถือเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบตามสถานะนั้น ๆ การที่ใครสักคนกล่าวว่า ไม่ใช่หน้าที่ ในขณะทีึ่อยู่ในสถานะอันควรนั้น ก็ต้องเรียกว่าขาดรับผิดชอบ เพราะบางครั้งบางเหตุการณ์ แม้จะไม่อยากรับผิดชอบแม่ก็มีหน้าที่อันควรต่อเหตุการณ์นั้น ก็ต้องรู้และรีบเข้าทำภารกิจนั้น เช่น เห็นเหตุไฟไหม้ จะทำโดยรีบดับ รีบแจ้ง อย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องทำตามสถาน
รูปภาพ
พาย พาย พาย โดยส่วนตัวแล้วพายเรือไม่ได้ว่ายน้ำไม่เป็น แต่ก็ขอเก็บข้อคิดจากการพายเรือมาฝากทุกท่านนะ ในการทำงานเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นในทีม แต่จะไม่พาดพิงใครล่ะ ขอเล่าเป็นเรื่องราวเทียบเคียงก็แล้วกัน หมู่คณะหนึ่งนั่งเครื่องบินข้ามทะเล แต่ก็เกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างบินเหนือน่านฟ้า ขณะที่กัปตันเครื่องลุกไปเข้าห้องน้ำ 555 เรื่องชักมันส์ และปรากฏว่า นักบินหนึ่งตาย นักบินสองอาการร่อแร่เป็นตายไม่เท่ากัน ส่อไปทางตายซะมากกว่า โห หนักเลยเนี่ย กัปตันเริ่มไหวหวั่นกับสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเช่นนี้ ในที่สุดกัปตันก็นำเครื่องลงจอดบนเกาะร้างกลางทะเลได้อย่างปลอดภัย แต่ก็สร้างความเวิ้งว้างในหัวใจน้อยน้อยของลูกเรือ และผู้โดยสาร ช่างโดดเดี่ยวและเศร้าใจเหลือเกินจะบรรยายต่อยังไงดีนี่ และแล้ว ก็เกิดไอเดียขึ้นว่า เมื่อพวกเราถูกปล่อยเกาะ ถ้าอยู่อย่างนี้ต่อไปคงติดเกาะไปไหนไม่ได้แน่ อย่ากระนั้นเลย การปล่อยชีวิตตามยถากรรมไม่น่าจะมีความปลอดภัย เรามาวางแผนและวางรูปแบบการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ที่จำเป็นกันเถอะ ในที่สุดก็มีการวางโครงสร้างของชาวเกาะจำเป็นขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โอ้ย ในที่สุดความสงบสุขก็กลับมาบังเกิดขึ้นก
รูปภาพ
 อาณาจักรไทยหลวง ประวัติศาสตร์ที่เราศึกษากันมา พบว่า ถูกแบ่งออกเป็นยุค ๆ นั่นคือ ยุคหิน เป็นยุคที่ต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดจากภัยธรรมชาติ ยุคไม้ เป็นยุคที่เริ่มเอาสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ยุคโลหะ เป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดดมา เพราะเป็นยุคที่มนุษย์เข้าใจในธรรมชาติในระดับที่สามารถแยกแยอะคุณสมบัติสิ่งแวดล้อมและนำมาพัฒนาจนใช้เป็นประโยชน์ได้ ยุคต่อมาเป็นยุคเกษตรกรรม เริ่มมีการครอบครองวัตถุดิบโดยเฉพาะอาหาร ใครมีมากก็มีอำนาจมากไปด้วย ยุคอุตสาหกรรม เป็นต่อยอดของการควบคุมทรัพยากรและการบริโภคทรัพยากรที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ยุคต่อมาเป็นยุคของการทำลายล้างด้วยอาวุธ ยุคของเทคโนโลยี่ และยุคของข้อมูลที่ตอบสนองความต้องได้อย่างตรงประเด็น ซึ่งคิดว่ายุดต่อไปน่าจะเป็นยุคของการควบคุม Demand and supply นั่นคือการควบคุม ทรัพยากร เทคโนโลยี่การผลิต อำนาจการจัดจำหน่าย และ พลังการบริโภค นั่นเอง ไม่ว่าจะยุคไทย ก็ไม่เคยพบว่าไทยมีอำนาจต่อรองกับใคร ๆ แล้วเมื่อไหร่จะเป็นไทยมหารัฐได้ล่ะ ? ยิ่งตอนนี้ โลก เป็น Globalization โลกมันแคบลง ทุกคนเชื่อมโยงถึงกันกันหมด ดังนั้นอำนาจต่อรองต้องมาจาก พันธมิตร ใครมีพันธ
รูปภาพ
  พิพิธภัณฑ์ "น้ำเงี้ยว" ด้วยความที่ข้าพเจ้าโตในจังหวัดเชียงราย และได้มีอาหารถิ่นอย่างหนึ่งอยู่ในใจมาตลอดคือ น้ำเงี้ยว เรียกว่ามีโอกาส หรือเห็นเมนู น้ำเงี้ยวเมื่อไหร่ เป็นอันยกเลิกเมนูอื่นไปเลย ซึ่งบางร้านก็ประทับ บางร้านก็รู้สึกยังไม่ประทับใจ แต่ก็อยากชิม อยากลอง ทุกครั้งที่รู้หรือเห็นว่ามี เมนูนี้ขาย จนวันนี้ข้าพเจ้าเกิดมีไอเดียหนึ่งขึ้นว่า น่าจะมีการสร้างมาตรฐานของ เมนูน้ำเงี้ยวไว้ เช่นมีการรวบรวม รสชาติว่าในแต่ละท้องถิ่น ทำน้ำเงี้ยวรสชาติเป็นอย่างไร ต่างหรือเหมือนกัน มีการพัฒนาส่วนผสมไปถึงไหนแล้ว ซึ่งอาจจะเหมือนหรือต่างกัน แม้กระทั่งวิธีการปรุง ที่เหมือนหรือต่างกัน คงต้องรวบรวมเก็บไว้ แล้ว มากำหนดร่วมกันว่า อะไร คือส่วนสำคัญ ที่น้ำเงี้ยวต้องมี คือถ้าขาดสิ่งนี้ไป ไม่เรียกว่าน้ำเงี้ยว เช่นเดียวกัน รสชาติที่แตกต่าง ก็จะกลายเป็นอัตตลักษณ์ของถิ่นนั้น ๆ ว่า ถ้าไปจังหวัดนั้น จะรสชาติแบบนี้ หรือสูตรตระกลูนั้นจะรสชาติเป็นเอกลักษณ์แบบนี้ ส่วนหน้าตา ก็อาจจะมีกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน เป็นประจำถิ่นเช่น ถ้าจังหวัดนี้ ่จะใส่ดอกงิ้ว จัดหวัดนี้จะไม่ใส่เลือด ฯลฯ จิปาถะ ถ้ามีข้อมูลเหล่านี้ แล้วร
รูปภาพ
อยู่ตรงไหนจึงจะเรียกว่าถึงยุคไทยมหารัฐ ?   คำถามวันนี้ เกิดจากการเทียบยุคต่าง ๆ ที่ผ่านมาของไทย กับคำทำนาย หวังว่าพวกเราคงเคยได้ยินได้ฟัง คำทำนาย ประเทศไทย 10 ยุค กันมาแล้ว ในที่นี้จะทบทวนให้อีกครั้งย่อ ๆ นะ 10ยุคที่กล่าวมา คือ  ยุคที่ 1 เรียกว่า ยุค “มหากาฬ” ยุคที่ 2 เรียกว่า ยุค “พันธุ์ยักษ์” ยุคที่ 3 เรียกว่า ยุค “รักษ์บัณฑิต” ยุคที่ 4 เรียกว่า ยุค “สนิทธรรม” ยุคที่ 5 เรียกว่า ยุค “จำแขนขาด” ยุคที่ 6 เรียกว่า ยุค “ราชโจร” ยุคที่ 7 เรียกว่า ยุค “นนท์ร้องทุกข์” ยุคที่ 8 เรียกว่า ยุค “ทมิฬ” ยุคที่ 9 เรียกว่า ยุค “ถิ่นตาขาว” ยุคที่ 10 เรียกว่า ยุค “ชาววิไล”  (ส่วนรายละเอียด คุณสามารถ มังสัง เขียนไว้ได้ดี ตามไปดูที่ลิงค์นี้ https://mgronline.com/daily/detail/9570000007219 ) ส่วนคุณ LunaServiz (https://www.facebook.com/lunaserviz/posts/1321714591268497/) ได้โพสต์ เพิ่มมาอีก ว่ายังมียุคต่อมาว่า ถิ่นกาขาว ชาวศิวิไล ไทยมหารัฐ จักรพรรดิราช  อีกคำอธิบายเรื่องยุคนี้ หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ (http://oknation.nationtv.tv/blog/thaitails/2018/06/12/entry-1) หรือข้อมูลจากที่อื่นอีกมาก ลองไปอ่านดูนะครับ
รูปภาพ
 ความซื่อสัตย์/จริงใจ/กล้ารับผิดชอบ เป็นคุณสมบัติที่เชื่อว่าโลกต้องการ ดังนั้นการจะก้าวไปสู่ยุคไทยมหารัฐ ต้องสร้างสิ่งนี้ให้มีในตัวในจิตสำนึกของคนไทยทุกคน แต่การเป็นคนซื่อสัตย์มักจะถูกเอาเปรียบ เพื่อปิดจุดอ่อนตรงนี้ เราก็ต้องมีความกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาเพื่อให้ทันเหลี่ยมคูความรู้ของคนอื่นเขาด้วย อย่างไรก็ดีความอดทนอดกลั้นจะเป็นคุณสมบัติที่จะทำให้ความซื่อสัตย์จริงใจคงอยู่หาไม่แล้ว ก็จะขันแตก ไม่ใช่ขันติ เพราะคนที่รู้ทันคนแต่ตนเองก็ไม่คิดฉวยโอกาสหรือหักหลังผู้อื่นจะต้องอาศัยความอดทนที่สูงยิ่งจริง ๆ จนในที่สุดเชื่อว่าต้องมีคุณอีกประการหนึ่งติดตัวนั่นคือต้องปลูกฝังให้คนไทยรักการเสียสละเพื่อประของส่วนรวมและประเทศชาติ คุณลักษณะพึงประสงค์ที่จะต้องปลูกฝังให้มีเพิ่มในคนไทยและต้องฝังให้ติดอยู่กับ DNA ของคนไทยทุกคนคือ  1.ความซื่อสัตย์สุจริต/จริงใจ/กล้ารับผิดชอบ 2.ความกระตือรือร้นใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาพัฒนาตัวเอง 3.ความอดทนอดกลั้น 4.ความเสียสละรู้รักสามัคคี 03/09/2564    
รูปภาพ
 ปวดถ่ายจึงคิดขุดส้วม   สมัยเด็ก ๆ อยู่ช่วยแม่ทำงาน ได้ยินแม่พูดคำนี้ออกมาเป็นภาษาจีน ฟังออกแต่ไม่เข้าใจความหมายจึงถามแม่ว่าหมายถึงอะไร แม่ก็อธิบายว่า คนเราอย่ารอให้ปวดท้องถ่ายแล้วจึงค่อยขุดหลุมทำส้วม สมัยก่อนทั้งไทยและจีนจะใช้ส้วมหลุมหรือส้วมซึม ซึ่งส้วมแบบนั้นใช้เวลาในการทำ โดยเฉพาะการขุดหลุมเป็นงานหนัก ใช้ทั้งแรงและเวลา ยิ่งเวลาปวดท้อง เวลาก็น้อย แรงก็ออกได้เต็มที่ ยังไงก็ทำส้วมไม่ทันแน่ ความนัยของเรื่องนี้คือ คนเราต้องรู้จักวางแผนชีวิต ยิ่งอะไรที่เป็นงาน routine หรือต้องทำเป็นประจำแล้ว ยิ่งต้องวางแผนให้ดี สมัยก่อนอยู่บ้านนอกต้องนึ่งข้าวเหนียวทุกเช้า ก่อนนอน ราว ๆ 19.00 ก็ต้องเอาข้าวสารเหนียว มาแช่น้ำแล้ว เพราะถ้าไม่แช่ข้าวจะสุกช้ามาก นั่นหมายความว่า คืนไหนลืมแช่ข้าว วันรุ่งขึ้นนอกจากจะอดข้าวเช้าแล้ว ข้าวกลางวันพลอยอดไปด้วย เพราะต้องเตรียมข้าวกลางวันจากบ้านไปโรงเรียนทุกเช้า แม้พี่สาวจะรับภาระแช่ข้าว (ผู้เขียนเด็กเกินไปจะรับภาระ) ก็ยังมีพี่สาวอีกคนตอยตรวจทุกคืนว่าน้องแช่ข้าวหรือยัง เรียกว่าไม่ให้ผิดพลาดได้ ส่วนกับข้าวก็มีการวางแผนพรุ่งนี้จะทำอะไร ด้วยความที่พี่น้องมากถึง 10 คน รวมพ่อ